วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญาโตเกียว

     สนธิสัญญาโตเกียว
อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว หรือ สนธิสัญญาโตกิโอ เนื่องจากแต่ก่อนคนไทยเรียกกรุงโตเกียวว่ากรุงโตกิโอ) เป็นอนุสัญญาสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทอินโดจีนในปี พ.ศ. 2484 ขณะที่การรบยังไม่สิ้นสุดนั้น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียขณะนั้น ได้เข้ามาไกล่เกลี่ย ซึ่งประเทศไทยและฝรั่งเศสได้ตกลง และหยุดยิงในว้นที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ก่อนจะมีการเจรจากันในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2484[1]กรุงโตเกียว โดยมีนายโซสุเกะ มัดซูโอกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะ และฝ่ายฝรั่งเศสมี อาร์เซน อังรี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงโตเกียวเป็นหัวหน้า ก่อนจะมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยมีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นหัวหน้าคณะลงนาม[2]
จากอนุสัญญานี้ทำให้ไทยได้ ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง, จำปาศักดิ์, ศรีโสภณ, พระตะบอง และดินแดนในกัมพูชา คืนมาจากฝรั่งเศส และได้นำมาแบ่งเป็น 4 จังหวัดคือ จังหวัดพระตะบอง, จังหวัดพิบูลสงคราม, จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง[2]






 
สนธิสัญญาปารีส อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นว่า



สนธิสัญญา (Treaty)

หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ระหว่างบุคคลในระหว่างประเทศ (รัฐกับรัฐ หรือรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ หรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับองค์การระหว่างประเทศ) และอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมุ่งก่อให้เกิดสิทธิและพันธะทางกฎหมายแก่ภาคีของสนธิสัญญา ไม่ว่าจะทำขึ้นเป็นฉบับเดียวหรือหลายฉบับผนวกกัน
 สนธิสัญญาทวิภาคีทำระหว่างสองรัฐหรือองค์การ อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ว่าสนธิสัญญาทวิภาคีอาจมีภาคีมากกว่าสอง ตัวอย่างเช่น พิจารณาสนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างสวิตเซอร์แลนด์กับสหภาพยุโรปหลังการปฏิเสธความตกลงพื้นที่เศรษฐกิจยุโรปของสวิสเซอร์แลนด์ สนธิสัญญาแต่ละฉบับมีภาคีสิบเจ็ดประเทศ แต่สนธิสัญญาเหล่านี้ก็ยังเป็นสนธิสัญญาทวิภาคี มิใช่พหุภาคี ภาคีแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม สวิตเซอร์แลนด์ ("ฝ่ายหนึ่ง") กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก ("อีกฝ่ายหนึ่ง") สนธิสัญญาก่อตั้งสิทธิและข้อผูกมัดระหว่างสวิตเซอร์แลนด์กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกอย่างหลากหลาย ซึ่งมิได้สถาปนาสิทธิและข้อผูกมัดใด ๆ ระหว่างสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก
สนธิสัญญาพหุภาคีทำระหว่างหลายประเทศความตกลงดังกล่าวก่อตั้งสิทธิและข้อผูกมัดระหว่างแต่ละภาคีและภาคีอื่นทุกภาคี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

CITES

PRESS RELEASE Proposals to change protection levels of species under international  trade at the next World Wildlife Conference available...