วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562

CITES

PRESS RELEASE

Proposals to change protection levels of species under international trade
at the next World Wildlife Conference available online

Marine and timber species top on the agenda. International trade in African elephant, giraffe,
white rhino, saiga antelope, vicuna and many other species also to be addressed
at CITES CoP18 in May 2019 in Colombo, Sri Lanka
Geneva, 4 January 2019 – 57 proposals to amend the lists of species subject to CITES regulations were submitted by 90 countries for consideration at the next World Wildlife Conference - the 18th meeting of the Conference of the Parties to the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES #CoP18), to be held from 23 May to 3 June 2019 in Colombo, Sri Lanka. In addition, a record 140 documents proposing new measures and policies on international trade in wild fauna and flora were submitted for consideration by the Conference.
The proposals to amend the lists of species (i.e. the CITES Appendices) and other documents will be decided upon at the triennial meeting of the 183 Parties to CITES (i.e. 182 countries and the European Union). The proposals are now available on the CITES website in the languages and formats in which they were received. Parties have until mid-March 2019 to provide their comments on these proposals. The CITES Secretariat will also invite comments from relevant intergovernmental bodies.
“The stakes are high under CITES and robust debates are to be expected. Decisions taken in Colombo will have a real and immediate effect on the legislation, regulation, and operating practices across the globe for international trade in the species concerned. Decisions taken at CoP18 will also alter their conservation and international trade management, and have direct impacts on biodiversity, livelihoods of rural communities and national economies”, said Secretary-General, Ivonne Higuero.
The 57 listing proposals cover a wide range of species, from mammals, birds, reptiles, amphibians, fish and insects to a variety of plant species including high value rosewood species. Countries are continuing to use their Convention for ensuring that timber and marine resources are not overexploited by proposing new timber and fishery species for inclusion in the CITES Appendices. For the first time, a proposal has been submitted to include the giraffe, the world's tallest land mammal, under CITES. There is also a proposal to list the mammoth, an extinct species, in CITES Appendix II.
The three proposals on African elephants show the divergence of opinions among range States of this species on how to deal with international trade in elephant products: two aim at easing controls on international trade in African elephant products, and one at prohibiting all commercial trade.  While Namibia is proposing to downlist its population of white rhinos to Appendix II, to allow only international commercial trade in live animals and hunting trophies, the proposal from Eswatini seeks to allow unrestricted international commercial trade in all specimens of its white rhino population, which is currently included in Appendix II.
CITES is a legally binding agreement which aims to ensure that international trade in specimens of wild animals and plants does not threaten their survival. It does so by monitoring, listing and regulating legal and sustainable wildlife trade and by combating illegal trade in wildlife. It currently regulates trade in over 36,000 species of wild animals and plants.
CITES determines international rules governing trade in wildlife. Governments will consider

and accept, reject or adjust these proposals for amending the CITES Appendices at CoP18. Unlike most other international agreements, CITES Parties decide by vote where consensus is not possible, with a two thirds majority required.
CITES Secretary-General Ivonne Higuero recently paid a visit to Sri Lanka, the CoP18 host country, to discuss preparations for CoP18, where she met His Excellency John A. E. Amaratunga, Minister of Wildlife, Tourism and Christian Religious Affairs.
"I was encouraged by the commitment at the highest levels of decision makers to ensure that the necessary steps will be taken in the next days so that preparations are on track for the next World Wildlife Conference – CITES CoP18. We look forward to facilitating the optimal setting for these discussions for the 183 Parties to CITES, the observers from intergovernmental and non-governmental organizations and the private sector, as well as representatives from rural communities in Colombo in 2019," added Higuero.
Other documents (known as “working documents”) as well as the Secretariat's assessment of the proposals to amend Appendices I and II, will be published on the CITES website at a later stage.
Note to editors: For more information and to arrange interviews, please contact Liu Yuan at +41 22 917 8130 or yuan.liu@cites.org
About CITES
With 183 Parties, Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES) remains one of the world's most powerful tools for wildlife conservation through the regulation of trade. Thousands of species are internationally traded and used by people in their daily lives for food, health care, housing, tourist souvenirs, cosmetics or fashion.
CITES regulates international trade in over 36,000 species of plants and animals, including their products and derivatives, to ensure their survival in the wild with benefits for the livelihoods of local people and the global environment. The CITES permit system seeks to ensure that international trade in listed species is sustainable, legal and traceable.
CITES was signed in Washington D.C. on 3 March 1973 and entered into force on 1 July 1975. Learn more about CITES by visiting www.cites.org or connecting to:
    อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (อังกฤษConvention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส(CITES) และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน(Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518
    ในปี พ.ศ. 2516 สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดการประชุมนานาชาติขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อร่างอนุสัญญาดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมประชุม 88 ประเทศ แต่มีผู้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ทันทีเพียง 22 ประเทศ สำหรับประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 ปัจจุบัน ไซเตสมีภาคีทั้งสิ้น 183 รัฐ
    เป้าหมายของไซเตส คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม ทำให้ปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์กระทำโดยการสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ ไซเตสไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น (Native Species) 
    การค้าสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ จะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต (Permit) ซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุมจะต้องมีใบอนุญาตในการนำเข้า (Import) ส่งออก (Export) นำผ่าน (Transit) และส่งกลับออกไป (Re-Export) โดยชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1, 2, 3 (Appendix I, II, III) ของอนุสัญญา โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญาโตเกียว

     สนธิสัญญาโตเกียว
อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว หรือ สนธิสัญญาโตกิโอ เนื่องจากแต่ก่อนคนไทยเรียกกรุงโตเกียวว่ากรุงโตกิโอ) เป็นอนุสัญญาสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทอินโดจีนในปี พ.ศ. 2484 ขณะที่การรบยังไม่สิ้นสุดนั้น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียขณะนั้น ได้เข้ามาไกล่เกลี่ย ซึ่งประเทศไทยและฝรั่งเศสได้ตกลง และหยุดยิงในว้นที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ก่อนจะมีการเจรจากันในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2484[1]กรุงโตเกียว โดยมีนายโซสุเกะ มัดซูโอกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะ และฝ่ายฝรั่งเศสมี อาร์เซน อังรี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงโตเกียวเป็นหัวหน้า ก่อนจะมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยมีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นหัวหน้าคณะลงนาม[2]
จากอนุสัญญานี้ทำให้ไทยได้ ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง, จำปาศักดิ์, ศรีโสภณ, พระตะบอง และดินแดนในกัมพูชา คืนมาจากฝรั่งเศส และได้นำมาแบ่งเป็น 4 จังหวัดคือ จังหวัดพระตะบอง, จังหวัดพิบูลสงคราม, จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง[2]






 
สนธิสัญญาปารีส อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นว่า



สนธิสัญญา (Treaty)

หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ระหว่างบุคคลในระหว่างประเทศ (รัฐกับรัฐ หรือรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ หรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับองค์การระหว่างประเทศ) และอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมุ่งก่อให้เกิดสิทธิและพันธะทางกฎหมายแก่ภาคีของสนธิสัญญา ไม่ว่าจะทำขึ้นเป็นฉบับเดียวหรือหลายฉบับผนวกกัน
 สนธิสัญญาทวิภาคีทำระหว่างสองรัฐหรือองค์การ อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ว่าสนธิสัญญาทวิภาคีอาจมีภาคีมากกว่าสอง ตัวอย่างเช่น พิจารณาสนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างสวิตเซอร์แลนด์กับสหภาพยุโรปหลังการปฏิเสธความตกลงพื้นที่เศรษฐกิจยุโรปของสวิสเซอร์แลนด์ สนธิสัญญาแต่ละฉบับมีภาคีสิบเจ็ดประเทศ แต่สนธิสัญญาเหล่านี้ก็ยังเป็นสนธิสัญญาทวิภาคี มิใช่พหุภาคี ภาคีแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม สวิตเซอร์แลนด์ ("ฝ่ายหนึ่ง") กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก ("อีกฝ่ายหนึ่ง") สนธิสัญญาก่อตั้งสิทธิและข้อผูกมัดระหว่างสวิตเซอร์แลนด์กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกอย่างหลากหลาย ซึ่งมิได้สถาปนาสิทธิและข้อผูกมัดใด ๆ ระหว่างสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก
สนธิสัญญาพหุภาคีทำระหว่างหลายประเทศความตกลงดังกล่าวก่อตั้งสิทธิและข้อผูกมัดระหว่างแต่ละภาคีและภาคีอื่นทุกภาคี


วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประเทศแฟรงก์เฟิร์ต

แฟรงก์เฟิร์ต (อังกฤษFrankfurt) หรือ ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ (เยอรมันFrankfurt am Mainเสียงอ่าน: [ˈfʁaŋkfʊɐt am ˈmaɪn]) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐเฮสส์และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไมน์ (Main river) และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตและธนาคารกลางยุโรป แฟรงก์เฟิร์ตเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยในเขตเมืองและปริมณฑลมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน 
แฟรงก์เฟิร์ต 
FrankfurtSkyline2014.jpg
Frankfurt Am Main-Roemer-Fassaden am Roemerberg von Osten-20100127.jpg
Stbartholomew frankfurt hesse germany.JPGAlte Oper (16075747277).jpg


วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

โรคทาลัสซีเมีย

โครงงานเรื่อง โรคทาลัสสซีเมีย

 

บทที่ 1

 

     บทนำ

1 ความเป็นมาของโครงงาน
โครงงานเกี่ยวกับโรคทารัสซีเมียจัดทำขึ้นเพราะสนใจ และต้องการศึกษา ประชากรส่วนใหย่เป็นโรคนี้เยอะขึ้น ทุกๆวัน แต่บางคนเป็นแต่ยังไม่รู้ตัวและมองข้ามมันไป
 
2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
- เพื่อให้คนศึกษาและเรียนรู็มากขึ้น
- เพื่อให้ทุกคนสนใจตัวเอง
 
3 ขอบเขตของโครงงาน
สร้างสื่อวิดีทัศน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคทาลัสซีเมีย
 
4 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
- เพื่อให้ทุกคนรักษาและดูแลตัวเอง
- ได้รับความรู้จากโรคนี้
 
 

บทที่ 2

 

เอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของโรคทาลัสซีเมีย

 
 
โรคเลือดจางทาลัสซีเมีย (อังกฤษ: thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่า ๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่เป็นพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน[7] เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ
ทาลัสซีเมีย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แอลฟาทาลัสซีเมีย และ เบต้าทาลัสซีเมีย ซึ่งก็คือ ถ้ามีความผิดปกติของสายแอลฟา ก็เรียกแอลฟาทาลัสซีเมีย และถ้ามีความผิดปกติของสายเบต้าก็เรียกเบต้าทาลัสซีเมีย
แอลฟาทาลัสซีเมีย แอลฟาทาลัสซีเมีย เกิดขึ้นเนื่องจากเฮโมโกลบินในสายแอลฟามีการสร้างผิดปกติ โดยปกติแล้วจะมีแหล่งระบาดอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ได้แก่ ไทย จีน ฟิลิปปินส์ และบางส่วนของแอฟริกาตอนใต้
ความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างสายแอลฟา โดยปกติแล้วสายแอลฟา 1 สายจะกำหนดโดยยีน 1 คู่ (2ยีน) ดังนี้
ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 1 ยีน จะไม่มีอาการใดๆ แต่จะเป็นพาหะที่ส่งยีนนี้ไปยังลูกหลาน ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 2 ยีน จะมีภาวะซีดเพียงเล็กน้อย แต่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 3 ยีน จะเกิดภาวะซีดได้ตั้งแต่รุนแรงน้อย จนถึงรุนแรงมาก บางครั้งเรียกว่าเฮโมโกลบิน H ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับเลือด ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 4 ยีน จะเสียชีวิตภายในระยะเวลาสั้นๆภายหลังจากเกิดออกมา เรียกว่า เฮโมโกลบินบาร์ต
เบต้าทาลัสซีเมีย เบต้าทาลัสซีเมียจะเกิดขึ้นเมื่อสายเบต้าในเฮโมโกลบินนั้นสร้างไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเฮโมโกลบินจึงขนส่งออกซิเจนได้ลดลง ในเบต้าทาลัสซีเมียสามารถแบ่งออกได็เป็นหลายชนิดย่อย ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของยีนส์ในการสร้างสายเบต้า
แหล่งระบาดของเบต้าทาลัสซีเมียได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบเมดิเตอเรเนียน
ถ้ามียีนที่สร้างสายเบต้าได้ไม่สมบูรณ์ 1 สาย (จากสายเบต้า 2สาย) อาจจะมีภาวะซีดเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ถ้ามียีนที่สร้างสายเบต้าได้ไม่สมบูรณ์ทั้ง 2 สาย (จากสายเบต้าทั้ง2สาย) ภาวะซีดอาจมีความรุนแรงได้ปานกลางถึงมาก ในกรณีนี้เกิดจากได้รับยีนที่ผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่
ถ้ามีภาวะซีดปานกลาง จำเป็นต้องได้รับเลือดบ่อยๆ โดยปกติแล้วสามารถมีชีวิตได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ถ้ามีภาวะซีดที่รุนแรงมักจะเสียชีวิตก่อนเนื่องจากซีดมาก ถ้าเป็นรุนแรงอาการมักจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 6 เดือนแรกหลังเกิด แต่ถ้าเด็กได้รับเลือดอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่แรกเริ่มก็มักจะมีชีวิตอยู่ได้นานมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็มักจะเสียชีวิตเนื่องจากอวัยวะต่างๆถูกทำลาย เช่นหัวใจ และตับ

                          อาการ

อาการ
จะมีอาการซีด ตาขาวสีเหลือง ตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต ผิวหนังดำคล้ำ กระดูกใบหน้าจะเปลี่ยนรูป มีจมูกแบน กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบาง เปราะ หักง่าย ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าคนปกติ แคระแกร็น ท้องป่อง ในประเทศไทยมีผู้เป็นโรคประมาณร้อยละ 1 ของประชากรหรือประมาณ 6 แสนคน
โรคเลือดจางทาลัสซีเมียมีอาการตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆ จนถึงมีอาการรุนแรงมากที่ทำให้เสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่เกิน 1 วัน ผู้ที่มีอาการจะซีดมากหรือมีเลือดจางมาก ต้องให้เลือดเป็นประจำ หรือมีภาวะติดเชื้อบ่อยๆ หรือมีไข้เป็นหวัดบ่อยๆ ได้ มากน้อยแล้วแต่ชนิดของทาลัสซีเมียซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งแอลฟา-ทาลัสซีเมีย และเบต้า-ทาลัสซีเมีย

          ผู้ที่มีโอกาสเป็นพาหะ

  • ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่จะเป็นพาหะหรือมียีนแฝงสูง
  • ผู้ที่มีลูกเป็นโรคนี้ แสดงว่าทั้งคู่สามีภรรยาเป็นพาหะหรือมียีนแฝง
  • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคทาลัสซีเมีย
  • ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคทาลัสซีเมียและแต่งงานกับคนปกติที่ไม่มียีนแฝง ลูกทุกคนจะมียีนแฝง
  • จากการตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษดูความผิดปกติของเฮโมโกลบิน

          โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคทาลัสซีเมีย

   ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคทาลัสซีเมีย (ป่วยทั้งคู่)

  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งลูกทุกคนจะป่วยเป็นโรคทาลัสซีเมีย
  • ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่เป็นปกติเลย

   ถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนแฝง (เป็นพาหะทั้งคู่)

  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะเป็นปกติ เท่ากับ ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4
  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝง (เป็นพาหะ) เท่ากับ ร้อยละ 50 หรือ 2 ใน 4
  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่จะมีลูกจะเป็นทาลัสซีเมีย เท่ากับ ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4

   ถ้าพ่อหรือแม่เป็นยีนแฝงเพียงคนเดียว (เป็นพาหะ 1 คน ปกติ 1 คน)

  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่จะมีลูกปกติเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2
  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2

   ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคทาลัสซีเมียเพียงคนเดียวและอีกฝ่ายมียีนปกติ (เป็นพาหะ 2 คน (พาหะ100%))

  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งลูกทุกคนจะมียีนแฝง หรือเท่ากับเป็นพาหะร้อยละ 100
  • ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่ป่วยเป็นโรคทาลัสซีเมีย และไม่มีลูกที่เป็นปกติด้วย

   ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคทาลัสซีเมียเพียงคนเดียวและอีกฝ่ายมียีนแฝง (เป็นโรค 1 คน เป็นพาหะ 1 คน)

  • ในการมีครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะป่วยเป็นโรคเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2
  • ในการมีครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2
  • ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่เป็นปกติเลย

           การรักษา

  1. ให้รับประทานวิตามินโฟลิค (B9) วันละเม็ด
  2. ให้เลือดเมื่อผู้ป่วยซีดมากและมีอาการของการขาดเลือด
  3. ตัดม้ามเมื่อต้องรับเลือดบ่อยๆ และม้ามโตมากจนมีอาการอึดอัดแน่นท้อง กินอาหารได้น้อย
  4. ไม่ควรรับประทานยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก
  5. ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงซีดมาก ต้องให้เลือดบ่อยมากจะมีภาวะเหล็กเกิน อาจต้องฉีดยาขับเหล็ก

แบบประคับประคอง (Low Transfusion)

เพื่อเพิ่มระดับเฮโมโกลบินไว้ในระดับหนึ่ง ไม่ให้เด็กอ่อนเพลียจากการขาดออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เติบโต

   การให้เลือดจนหายซีด (High Transfusion)

ระดับเฮโมโกลบินสูงใกล้เคียงคนปกติ ซึ่งอาจต้องให้เลือดทุกสัปดาห์ 2-3 ครั้ง จนระดับเฮโมโกลบินอยู่ในเกณฑ์ดี และต่อไปจะให้สม่ำเสมอทุก 2-3 สัปดาห์ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ถ้าให้ตั้งแต่อายุน้อยในเด็กที่เป็นชนิดรุนแรง จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าเด็ก เขาจะเติบโตมีรูปร่างแข็งแรงดี หน้าตาดี ตัวไม่เตี้ย ตับและม้ามไม่โต แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ โดยระมัดระวังผลแทรกซ้อนจากการให้เลือดบ่อยและจะต้องให้ยาขับเหล็ก ซึ่งอาจสะสมได้จากการให้เลือดบ่อยครั้ง
นอกจากการให้เลือดดังกล่าว บางรายที่มีอาการม้ามโตมากจนต้องให้เลือดถี่ๆ จากการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายในม้ามมาก ต้องตัดม้ามออกแต่จะมีการป้องกันการติดเชื้อที่อาจมีตามมาด้วย

   ปลูกถ่ายไขกระดูก

โดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด ซึ่งนำมาใช้ในประเทศไทยแล้วประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งทำสำเร็จในประเทศไทยแล้วหลายราย เด็กๆ ก็เจริญเติบโตปกติเหมือนเด็กธรรมดา โดยหลักการคือ นำไขกระดูกมาจากพี่น้องในพ่อแม่เดียวกัน (ต่างเพศก็ใช้ได้) นำมาตรวจความเหมาะสมทางการแพทย์หลายประการ และดำเนินการช่วยเหลือ

   การเปลี่ยนยีน

นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดคือการเปลี่ยนยีน ซึ่งกำลังดำเนินการวิจัยอยู่

    แนวทางการป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

  • จัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อจะได้มีความรู้ ความสามารถในการวินิจฉัย หรือให้คำปรึกษาโรคทาลัสซีเมียได้ถูกวิธี
  • จัดให้มีการให้ความรู้ประชาชน เกี่ยวกับโรคทาลัสซีเมีย เพื่อจะได้ทำการค้นหากลุ่มที่มีความเสี่ยง และให้คำแนะนำแก่ผู้ที่เป็นโรคทาลัทซีเมีย ในการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกวิธี
  • จัดให้มีการให้คำปรึกษาแก่คู่สมรส มีการตรวจเลือดคู่สมรส เพื่อตรวจหาเชื้อโรคทาลัทซีเมีย และจะได้ให้คำปรึกษาถึงความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดโรคทาลัทซีเมียได้ รวมถึงการแนะนำ และการควบคุมกำเนิดที่เหมาะสม สำหรับรายที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคทาลัสซีเมียแล้วเป็นต้น

บทที่ 3

โปรแกรมที่ใช้ในการทำงาน

- โปรแกรม Microsoft Word

บทที 4

ผลการดำเนินการ

คณะผู้จัดทำสามารถดำเดินงานลุร่วงไปได้ด้วยดี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

AEC

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
  1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม)

          ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และสีดำ พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน แถบสีดำอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ 

          สีเหลือง หมายถึง กษัตริย์

          สีขาว และสีดำ หมายถึง มุขมนตรี

          สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจำพระองค์ของ

สุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
  1. ประเทศบรูไน เมืองหลวงคือ กรุงบันดา เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
เมืองหลวงอาเซียน
กรุงบันดา เสรี เบกาวัน เมืองหลวงของบรูไน
กรุงบันดา เสรี เบกาวัน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศบรูไน โดยเป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของประเทศ เป็นเมืองหลวงที่มีเนื้อที่ขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 100 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 100,000 คน ในสมัยการล่าอาณานิคมของประเทศฝั่งยุโรป เมืองนี้เคยตกอยู่ใต้การยึดครองของประเทศอังกฤษ โดยถูกเรียกว่าเมืองบรูไน ก่อนจะกลับมาใช่ชื่อ บันดา เสรี เบกาวัน ภายหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว

ข้อมูล ประเทศบรูไน (ฺBRUNEI)


พื้นที่ :  5,769 ตร.กม. ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้
ประชากร : มีจำนวนประชากรประมาณ 401,890 คน (น้อยที่สุดในอาเซียน) ส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติ มลายู รองลงมาคือ จีน และชนพื้นเมืองต่าง
ภาษา : ภาษามาเลย์เป็น ภาษาราชการ และใช้ภาษาอังกฤษกันทั่วไปทั้งในราชการ การค้า ภาษาจีนใช้กันในกลุ่มคนจีน 
สกุลเงิน บรูไน : ดอลล่าร์บรูไน ดารุสซาลาม
ดอกไม้ประจำชาติบรูไน : ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย
สัตว์ประจำชาติ บรูไน : เสือโคร่ง
อาหารประจำชาติ บรูไน : อัมบูยัต เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน
 สถานที่สำคัญ : Bandar Seri Begawan, Brunei Darussalam พิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย (Royal Regalia Museum) ที่ซึ่งรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของสุลต่านองค์ปัจจุบัน มีความวิจิตรงดงาม ต่อกันที่มัสยิดทองคำ มัสยิดที่ยิ่งใหญ่และอลังการที่สุดในประเทศบรูไน ใครที่ชอบช้อปปิ้งก็มากันได้ที่ Yayasan Sultan Haji Hassanal Bolkiah Complex และ Gadong Shopping Mall ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีสินค้าน่าสนใจมากมายหลากหลายราคา
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา)

          ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่บริเวณกึ่งกลาง ขณะที่ริ้วด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีน้ำเงิน และกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

          สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์

          สีแดง หมายถึง ชาติ

          ส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ


  • ประเทศกัมพูชา เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
เมืองหลวงอาเซียน
กรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา
กรุงพนมเปญเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ราชธานีพนมเปญ ตั้งอยู่ทางตอนกลาง (ค่อนไปทางใต้ของประเทศ) มีเนื้อที่ 678 ตารางกิโลเมตร มีประชากรหนาแน่นราว 2,000,000 คน พนมเปญถือว่าเป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศกัมพูชา เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศ ในยุคล่าอาณานิคมพนมเปญตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1953

ข้อมูล ประเทศกัมพูชา (ฺCAMBODIA)


พื้นที่ :  180,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 14.7 ล้านคน ชาวเขมรร้อยละ 90 ชาวญวนร้อยละ 5 ชาวจีนร้อยละ 1 และอื่นๆ ร้อยละ 4
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
สกุลเงิน กัมพูชา : เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา
  ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา : ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วยนะ
สัตว์ประจำชาติ กัมพูชา : กูปรี หรือโคไพร เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
อาหารประจำชาติ กัมพูชา : อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย
สถานที่สำคัญ : วัดพนม

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
 
          3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
          ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ

          สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม

  • ประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงคือ กรุงจาการ์ตา (Jakarta)
เมืองหลวงอาเซียน
กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย
กรุงจาร์กาตาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย เดิมชื่อว่าเมืองบาตาเวีย (Batavia) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ 720 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 13 ล้านคน ซึ่งนับว่าค่อนข้างหนาแน่น มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่ทันสมัยและสวยงาม กรุงจาร์กาตาเป็นศูนย์กลางในทุกๆด้านของประเทศอินโดนีเซีย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง แหล่งการศึกษา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอีกด้วย
พื้นที่ :  1,904,433 ตารางกิโลเมตร (หรือ 10 เท่า ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประชากร 241 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน อินโดนีเซีย : รูเปียห์ (Rupiah) 
ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย : ดอกกล้วยไม้ราตรี
สัตว์ประจำชาติ อินโดนีเซีย : มังกรโคโมโด
อาหารประจำชาติ อินโดนีเซีย : กาโด กาโด (Gado Gado) ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช
สถานที่สำคัญ : Jakata
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          4. Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สปป ลาว)
          ธงชาติลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะเป็นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง ขณะที่แถบด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว

          สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ

          พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของ

          สาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง เนื่องจากเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง 
 เมืองหลวง : กรุงเวียงจันทน์ (Vientiane)
พื้นที่ : ประมาณ 236,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 6.5 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% 
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน ลาว : กีบ (Kip)
ดอกไม้ประจำชาติลาว : ดอกจำปาลาว
สัตว์ประจำชาติ ลาว : ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง 
อาหารประจำชาติ ลาว : ซุบไก่ (Chicken Soup)
สถานที่สำคัญ : ประตูชัย
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
          5. Malaysia (มาเลเซีย)
          ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

          แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย

          ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด

          พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ

          สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ

          สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
 เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ 
พื้นที่ :  ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 30,018,242 ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10% 
ภาษา : ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
สกุลเงิน มาเลเซีย : ริงกิต (Ringgit)
ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย : ดอกพู่ระหง
สัตว์ประจำชาติ มาเลเซีย : เสือโคร่ง
อาหารประจำชาติ มาเลเซีย : นาซิเลอมัก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย  เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร, สะเต๊ะ เป็นอาหารที่รู้จักแพร่หลาย  นิยมใช้เนื้อวัว หรือเนื้อไก่ย่างบนเตาถ่าน  รับประทานกับน้ำจิ้มรสชาติหวานหอมเผ็ด และเครื่องเคียง
สถานที่สำคัญ : ตึกแฝดเปโตรนาส (Petronas Twin)
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
          6. Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า)
          ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า

          สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี

          สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด

          ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
ประเทศพม่า เมืองหลวง : กรุงเนปิดอว์
พื้นที่ :  677,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 56,400,000 คน มีชาติพันธุ์พม่า 68%, ไทใหญ่ 9%, กะเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 3.50%, จีน 2.50%, มอญ 2%, คะฉิ่น 1.50%, อินเดีย 1.25%, ชิน1%, คะยา 0.75% และอื่นๆ 4
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน เมียนมาร์ : จ๊าด (Kyat) 
ดอกไม้ประจำชาติพม่า : ดอกประดู่ 
สัตว์ประจำชาติ เมียนมาร์ : เสือ
อาหารประจำชาติ เมียนมาร์ : หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า คือใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง
สถานที่สำคัญ : เนปิดอว์

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
          7. Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์)
          ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จำนวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน และแถบล่างมีสีแดง

          ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม

          สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่า

          ดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ ที่มีความพยายาม ในการเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน กระทั่งเกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439

          ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ  ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
เมืองหลวง ฟิลิปปินส์ : กรุงมะนิลา
พื้นที่ :  300,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 103,000,000 คน
ภาษา : ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน ฟิลิปปินส์ : เปโซ (Peso)
   ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ : ดอกพุดแก้ว
สัตว์ประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : กระบือ เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ ในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว
อาหารประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : อโดโบ้ (Adobo) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม ของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากหมู หรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบ หรือทอด และรับประทานกับข้าว
สถานที่สำคัญ : กรุงมะนิลา ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์)
          ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีดาว 5 แฉก  จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า

          สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล

          รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น

          ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค
 
เมืองหลวง สิงคโปร์ : สิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว
พื้นที่ :  697.1 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 5,469,700 คน ประกอบด้วยชาวจีน 75%, มาเลย์ 15%, อินเดีย 10%
ภาษา : ภาษาราชการ มี 4 ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนแมนดาริน และภาษาทมิฬ
สกุลเงิน สิงคโปร์ : ดอลล่าร์สิงคโปร์ 
 ดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ : ดอกกล้วยไม้แวนด้า
สัตว์ประจำชาติ สิงคโปร์ : สิงโต ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต
อาหารประจำชาติ สิงคโปร์ : ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง
สถานที่สำคัญ : โรงแรมมารีน่า 
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย)

          ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง ชาติ

          สีขาว หมายถึง ศาสนา

          สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์

          อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า

          สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ

          สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ

          สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์

          แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอด
เมืองหลวง ไทย: กรุงเทพมหานคร
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 65,124,716 คน
ประชากร : 65,124,716 คน
สกุลเงิน ไทย : บาท (Baht)
ดอกไม้ประจำชาติไทย : ดอกราชพฤกษ์
สัตว์ประจำชาติ ไทย: ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของประเทศ 
อาหารประจำชาติ ไทย:  ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong), ส้มตำ
สถานที่สำคัญ : วัดพระแก้ว
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)


          ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม

          สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม

          อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า

          สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ

          ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
เมืองหลวง เวียดนาม : กรุงฮานอย
พื้นที่ :  331,689 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 89,693,000 คน
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน เวียดนาม : ด่ง (Dong) 
ดอกไม้ประจำชาติเวียดนาม : ดอกบัว
สัตว์ประจำชาติ เวียดนาม : กระบือ
อาหารประจำชาติ เวียดนาม : แหนม หรือ ปอเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารยอดนิยมของเวียดนาม หนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุด
ของประเทศแผ่นแป้งทำจากข้าวจ้าว นำมาห่อไส้ ซึ่งอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ รวมกับผักที่มีสรรพคุณ
เป็นยานานาชนิด
สถานที่สำคัญ : ตลาดดงซวน

CITES

PRESS RELEASE Proposals to change protection levels of species under international  trade at the next World Wildlife Conference available...