วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

AEC

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
  1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม)

          ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และสีดำ พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน แถบสีดำอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ 

          สีเหลือง หมายถึง กษัตริย์

          สีขาว และสีดำ หมายถึง มุขมนตรี

          สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจำพระองค์ของ

สุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
  1. ประเทศบรูไน เมืองหลวงคือ กรุงบันดา เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
เมืองหลวงอาเซียน
กรุงบันดา เสรี เบกาวัน เมืองหลวงของบรูไน
กรุงบันดา เสรี เบกาวัน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศบรูไน โดยเป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของประเทศ เป็นเมืองหลวงที่มีเนื้อที่ขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 100 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 100,000 คน ในสมัยการล่าอาณานิคมของประเทศฝั่งยุโรป เมืองนี้เคยตกอยู่ใต้การยึดครองของประเทศอังกฤษ โดยถูกเรียกว่าเมืองบรูไน ก่อนจะกลับมาใช่ชื่อ บันดา เสรี เบกาวัน ภายหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว

ข้อมูล ประเทศบรูไน (ฺBRUNEI)


พื้นที่ :  5,769 ตร.กม. ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้
ประชากร : มีจำนวนประชากรประมาณ 401,890 คน (น้อยที่สุดในอาเซียน) ส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติ มลายู รองลงมาคือ จีน และชนพื้นเมืองต่าง
ภาษา : ภาษามาเลย์เป็น ภาษาราชการ และใช้ภาษาอังกฤษกันทั่วไปทั้งในราชการ การค้า ภาษาจีนใช้กันในกลุ่มคนจีน 
สกุลเงิน บรูไน : ดอลล่าร์บรูไน ดารุสซาลาม
ดอกไม้ประจำชาติบรูไน : ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย
สัตว์ประจำชาติ บรูไน : เสือโคร่ง
อาหารประจำชาติ บรูไน : อัมบูยัต เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน
 สถานที่สำคัญ : Bandar Seri Begawan, Brunei Darussalam พิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย (Royal Regalia Museum) ที่ซึ่งรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของสุลต่านองค์ปัจจุบัน มีความวิจิตรงดงาม ต่อกันที่มัสยิดทองคำ มัสยิดที่ยิ่งใหญ่และอลังการที่สุดในประเทศบรูไน ใครที่ชอบช้อปปิ้งก็มากันได้ที่ Yayasan Sultan Haji Hassanal Bolkiah Complex และ Gadong Shopping Mall ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีสินค้าน่าสนใจมากมายหลากหลายราคา
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา)

          ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่บริเวณกึ่งกลาง ขณะที่ริ้วด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีน้ำเงิน และกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

          สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์

          สีแดง หมายถึง ชาติ

          ส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ


  • ประเทศกัมพูชา เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
เมืองหลวงอาเซียน
กรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา
กรุงพนมเปญเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ราชธานีพนมเปญ ตั้งอยู่ทางตอนกลาง (ค่อนไปทางใต้ของประเทศ) มีเนื้อที่ 678 ตารางกิโลเมตร มีประชากรหนาแน่นราว 2,000,000 คน พนมเปญถือว่าเป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศกัมพูชา เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศ ในยุคล่าอาณานิคมพนมเปญตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1953

ข้อมูล ประเทศกัมพูชา (ฺCAMBODIA)


พื้นที่ :  180,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 14.7 ล้านคน ชาวเขมรร้อยละ 90 ชาวญวนร้อยละ 5 ชาวจีนร้อยละ 1 และอื่นๆ ร้อยละ 4
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
สกุลเงิน กัมพูชา : เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา
  ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา : ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วยนะ
สัตว์ประจำชาติ กัมพูชา : กูปรี หรือโคไพร เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
อาหารประจำชาติ กัมพูชา : อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย
สถานที่สำคัญ : วัดพนม

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
 
          3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
          ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ

          สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม

  • ประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงคือ กรุงจาการ์ตา (Jakarta)
เมืองหลวงอาเซียน
กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย
กรุงจาร์กาตาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย เดิมชื่อว่าเมืองบาตาเวีย (Batavia) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ 720 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 13 ล้านคน ซึ่งนับว่าค่อนข้างหนาแน่น มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุดเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่ทันสมัยและสวยงาม กรุงจาร์กาตาเป็นศูนย์กลางในทุกๆด้านของประเทศอินโดนีเซีย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง แหล่งการศึกษา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอีกด้วย
พื้นที่ :  1,904,433 ตารางกิโลเมตร (หรือ 10 เท่า ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประชากร 241 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน อินโดนีเซีย : รูเปียห์ (Rupiah) 
ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย : ดอกกล้วยไม้ราตรี
สัตว์ประจำชาติ อินโดนีเซีย : มังกรโคโมโด
อาหารประจำชาติ อินโดนีเซีย : กาโด กาโด (Gado Gado) ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช
สถานที่สำคัญ : Jakata
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          4. Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สปป ลาว)
          ธงชาติลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะเป็นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง ขณะที่แถบด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว

          สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ

          พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของ

          สาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง เนื่องจากเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง 
 เมืองหลวง : กรุงเวียงจันทน์ (Vientiane)
พื้นที่ : ประมาณ 236,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 6.5 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% 
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน ลาว : กีบ (Kip)
ดอกไม้ประจำชาติลาว : ดอกจำปาลาว
สัตว์ประจำชาติ ลาว : ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง 
อาหารประจำชาติ ลาว : ซุบไก่ (Chicken Soup)
สถานที่สำคัญ : ประตูชัย
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
          5. Malaysia (มาเลเซีย)
          ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

          แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย

          ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด

          พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ

          สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ

          สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
 เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ 
พื้นที่ :  ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 30,018,242 ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10% 
ภาษา : ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
สกุลเงิน มาเลเซีย : ริงกิต (Ringgit)
ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย : ดอกพู่ระหง
สัตว์ประจำชาติ มาเลเซีย : เสือโคร่ง
อาหารประจำชาติ มาเลเซีย : นาซิเลอมัก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย  เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร, สะเต๊ะ เป็นอาหารที่รู้จักแพร่หลาย  นิยมใช้เนื้อวัว หรือเนื้อไก่ย่างบนเตาถ่าน  รับประทานกับน้ำจิ้มรสชาติหวานหอมเผ็ด และเครื่องเคียง
สถานที่สำคัญ : ตึกแฝดเปโตรนาส (Petronas Twin)
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
          6. Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า)
          ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า

          สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี

          สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด

          ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
ประเทศพม่า เมืองหลวง : กรุงเนปิดอว์
พื้นที่ :  677,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 56,400,000 คน มีชาติพันธุ์พม่า 68%, ไทใหญ่ 9%, กะเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 3.50%, จีน 2.50%, มอญ 2%, คะฉิ่น 1.50%, อินเดีย 1.25%, ชิน1%, คะยา 0.75% และอื่นๆ 4
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน เมียนมาร์ : จ๊าด (Kyat) 
ดอกไม้ประจำชาติพม่า : ดอกประดู่ 
สัตว์ประจำชาติ เมียนมาร์ : เสือ
อาหารประจำชาติ เมียนมาร์ : หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า คือใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง
สถานที่สำคัญ : เนปิดอว์

ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
          7. Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์)
          ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จำนวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน และแถบล่างมีสีแดง

          ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม

          สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และความมีคุณค่า

          ดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ ที่มีความพยายาม ในการเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน กระทั่งเกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439

          ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ  ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
เมืองหลวง ฟิลิปปินส์ : กรุงมะนิลา
พื้นที่ :  300,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 103,000,000 คน
ภาษา : ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน ฟิลิปปินส์ : เปโซ (Peso)
   ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ : ดอกพุดแก้ว
สัตว์ประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : กระบือ เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ ในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว
อาหารประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : อโดโบ้ (Adobo) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม ของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากหมู หรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบ หรือทอด และรับประทานกับข้าว
สถานที่สำคัญ : กรุงมะนิลา ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์)
          ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีดาว 5 แฉก  จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า

          สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล

          รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น

          ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค
 
เมืองหลวง สิงคโปร์ : สิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว
พื้นที่ :  697.1 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 5,469,700 คน ประกอบด้วยชาวจีน 75%, มาเลย์ 15%, อินเดีย 10%
ภาษา : ภาษาราชการ มี 4 ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนแมนดาริน และภาษาทมิฬ
สกุลเงิน สิงคโปร์ : ดอลล่าร์สิงคโปร์ 
 ดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ : ดอกกล้วยไม้แวนด้า
สัตว์ประจำชาติ สิงคโปร์ : สิงโต ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต
อาหารประจำชาติ สิงคโปร์ : ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง
สถานที่สำคัญ : โรงแรมมารีน่า 
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย)

          ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสีขาว และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง ชาติ

          สีขาว หมายถึง ศาสนา

          สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์

          อย่างไรก็ตาม มีการเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า

          สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ

          สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ

          สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์

          แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอด
เมืองหลวง ไทย: กรุงเทพมหานคร
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 65,124,716 คน
ประชากร : 65,124,716 คน
สกุลเงิน ไทย : บาท (Baht)
ดอกไม้ประจำชาติไทย : ดอกราชพฤกษ์
สัตว์ประจำชาติ ไทย: ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของประเทศ 
อาหารประจำชาติ ไทย:  ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong), ส้มตำ
สถานที่สำคัญ : วัดพระแก้ว
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน

          10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)


          ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดงล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้

          สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม

          สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม

          อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า

          สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ

          ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
เมืองหลวง เวียดนาม : กรุงฮานอย
พื้นที่ :  331,689 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 89,693,000 คน
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
สกุลเงิน เวียดนาม : ด่ง (Dong) 
ดอกไม้ประจำชาติเวียดนาม : ดอกบัว
สัตว์ประจำชาติ เวียดนาม : กระบือ
อาหารประจำชาติ เวียดนาม : แหนม หรือ ปอเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารยอดนิยมของเวียดนาม หนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุด
ของประเทศแผ่นแป้งทำจากข้าวจ้าว นำมาห่อไส้ ซึ่งอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ รวมกับผักที่มีสรรพคุณ
เป็นยานานาชนิด
สถานที่สำคัญ : ตลาดดงซวน

CITES

PRESS RELEASE Proposals to change protection levels of species under international  trade at the next World Wildlife Conference available...